หลักสูตร

หลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP)

Good Manufacturing Practice หรือ GMP เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและการควบคุม เมื่อผู้ผลิตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GMP แล้ว ก็สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยโดยหลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017

ห้องปฏิบัติทดสอบหรือห้องปฏิบัติการสอบเทียบ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบหรือสอบเทียบต่อลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้หลายวิธี วิธีที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากลคือการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2017

ห้องปฏิบัติการที่กำลังเข้าสู่มาตรฐาน ISO/IEC 17025 จำเป็นต้องเตรียมความพร้อม หนึ่งในนั้นคือ การจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO/IEC 17025

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISOIEC 17025 : 2017

เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

ข้อกำหนด ISO 9001 : 2015

ISO9001:2015 เป็นมาตรฐานสากลที่สำหรับระบบบริหารคุณภาพที่มีการนำไปใช้ และให้การรับรองกันแพร่หลายทั่วโลก หากมีการนำระบบไปประยุกต์ใช้ อย่างมีประสิทธิผล จะทำให้ลูกค้าขององค์กรมั่นใจได้ว่า องค์กรสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการและคาดหวังรวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ นำมาซึ่งความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทางเคมี

ในกระบวนการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตาม?มาตรฐาน ?ISO?/?IEC ?17025 ? ระบุให้ห้องปฏิบัติการต้องเลือกวิธีทดสอบที่เหมาะสม และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพิสูจน์ว่าวิธีทดสอบที่ห้องปฏิบัติการเลือกใช้นั้นมีความเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ทั้งช่วงใช้งาน ประเภทตัวอย่างที่ทดสอบ ทำให้ผลการทดสอบมีความน่าเชื่อถือทั้งในด้านความถูกต้อง ความเที่ยง ความสอบกลับได้ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี?จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบทางเคมี รวมทั้งทบทวนความรู้ความเข้าใจและการนำไปประยุกต์ใช้อย่างสม่ำเสมอ

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การประกันคุณภาพผลวิเคราะห์ทดสอบ

ในการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิเคราะห์ ที่ถูกต้องแม่นยำ น่าเชื่อถือนั้น เป็นสิ่งจำเป็นมากที่ นักวิเคราะห์ทดสอบสอบเทียบและวิจัยต้องดูแลเอาใจใส่ เลือกและใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผลงานทางห้องปฏิบัติการเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

แผนภูมิควบคุม

เครื่องมือทางสถิติ (Tool) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบแนวโน้มต่างๆ สําหรับการควบคุมคุณภาพผลการทดสอบ คือ แผนภูมิควบคุม (Control chart) ซึ่งจะทําให้ผู้ทําการทดสอบทราบว่าผลการวิเคราะห์ทดสอบอยู่ภายใต้การควบคุมหรือไม่ และยังสามารถทราบถึงการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของการวิเคราะห์ทดสอบ ทําให้เห็นโอกาสปรับปรุงงานได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การวิเคราะห์ความแปรปรวน สำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ

การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) เป็นวิธีหนึ่งในการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากรมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กัน โดยปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขา เพื่อข้อมูลในการตัดสินใจและการปฏิบัติการที่ถูกต้อง ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้เข้าใจข้อมูลที่ดี และการแปลผลที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อใช้สถิติเป็นเครื่องมือในกระบวนการควบคุมคุณภาพ ใช้ในการแปลผล การวิเคราะห์ และการนำเสนอผลวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสารเคมี

การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสารเคมี ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลในการทำงาน การประเมินความเป็นอันตรายและความเสี่ยงของสารเคมี รวมถึงลักษณะและโอกาสที่จะได้รับสาร และการจัดทำรายงานการประเมินความปลอดภัยสารเคมี (Chemical Safety Report, CSR) ตลอดจนการจัดการความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยง การกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันอันตราย การสื่อสารความเสี่ยงให้กับผู้ที่ทำงานกับสารเคมี เพื่อให้ผู้ทำงานมีความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและความเสี่ยงจากการทำงานกับสารเคมี สามารถป้องกันตนเองและทำงานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (data validation) ในระบบคุณภาพ

ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานต่าง ๆ การที่ได้ข้อมูลมาแล้วแต่มีการถ่ายโอนข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดผลเสียหายอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงาน ดังนั้น เพื่อป้องกันการใส่ข้อมูลผิดพลาด การใส่ข้อมูลซ้ำ สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการทำ data validation Data validation เป็นการตรวจว่าข้อมูลเป็นไปตามเกณฑ์ของวัตถุประสงค์ เป็นข้อมูลที่ตรงตามที่ต้องการ

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม

Go Top