หลักสูตร
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารทางจุลชีววิทยา | |
---|---|
รายละเอียดหลักสูตร | การดำเนินการห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยการศึกษาหาข้อมูลของจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การปฏิบัติการเพาะเลี้ยง การแยกจุลินทรีย์บริสุทธิ์ การวินิจฉัยชนิดของจุลินทรีย์ และการเก็บรักษาจุลินทรีย์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าจุลินทรีย์ (microbes) ผู้ปฏิบัติงานจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสจุลินทรีย์ทั้งกลุ่มที่เป็นพิษภัยและกลุ่มที่ไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาหารเป็นสื่อนำ มีความเป็นพิษภัยในหลายระดับขึ้นกับประเภทและชนิดของเชื้อนั้น ๆ ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถปกป้องตนเอง รวมทั้งผู้ร่วมงานและสิ่งแวดล้อมไม่ให้ได้รับอันตราย วิธีการหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบอาหารทางจุลชีววิทยาคือการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ |
ระยะเวลาในการเรียน |
60 วัน |
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อ (decontamination) ที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม บุคคลหรือชุมชน และลดผลกระทบต่อความถูกต้องของผลการทดสอบ วิธีการที่จะเลือกใช้ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อขึ้นกับปัจจัยหลายประการรวมทั้ง ประเภทของวัสดุที่จะทำการฆ่าเชื้อ ชนิดของเชื้อ ปริมาณเชื้อ และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ |
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย |
|
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม |
ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการผู้สนใจทั่วไป |
คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการเรียน |
|
Smart Phone หรือ Tablet ที่เหมาะสมในการเรียน |
Android 4.0 ขึ้นไป เปิดด้วย Firefox iOS 6 ขึ้นไป เปิดด้วย Safari Windows Phone 8 ขึ้นไป เปิดด้วย IE |
เงื่อนไขในการเรียน |
ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนจะถือว่ายอมรับเงื่อนไขตามที่กำหนดของแต่ละหลักสูตร
|
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารทางจุลชีววิทยา
การดำเนินการห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยการศึกษาหาข้อมูลของจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การปฏิบัติการเพาะเลี้ยง การแยกจุลินทรีย์บริสุทธิ์ การวินิจฉัยชนิดของจุลินทรีย์ และการเก็บรักษาจุลินทรีย์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าจุลินทรีย์ (microbes) ผู้ปฏิบัติงานจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสจุลินทรีย์ทั้งกลุ่มที่เป็นพิษภัยและกลุ่มที่ไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาหารเป็นสื่อนำ มีความเป็นพิษภัยในหลายระดับขึ้นกับประเภทและชนิดของเชื้อนั้น ๆ ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถปกป้องตนเอง รวมทั้งผู้ร่วมงานและสิ่งแวดล้อมไม่ให้ได้รับอันตราย วิธีการหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบอาหารทางจุลชีววิทยาคือการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม
เทคนิคพื้นฐานสำหรับนักจุลชีววิทยา | |
---|---|
รายละเอียดหลักสูตร | การประยุกต์ใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยามีความสําคัญยิ่งสําหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม ผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาจําเป็นต้องมีความรู้เข้าใจเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน หากผู้ปฏิบัติงานมีความรู้พื้นฐานสาขาที่ไม่ดีพอ จะทําให้เกิดการวินิจฉัยผลการทดลองที่ไม่/ถูกต้อง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก การปฏิบัติงานการวิเคราะห์ทดสอบด้านจุลชีววิทยาในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งมีการฝึกฝนเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา แล้วบุคคลเหล่านี้ย่อมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม |
ระยะเวลาในการเรียน |
90 วัน |
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | เพื่อให้สามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับงาน รวมไปถึงทราบหลักการและเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาต่างๆ และทราบข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม |
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย | 1. วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 2. วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์เบื้องต้น 3. การทำให้ปราศจากเชื้อ 4. เทคนิคการทำเจือจาง (Dilution) 5. เทคนิคปลอดเชื้อ และเทคนิคการถ่ายเชื้อแบบปลอดเชื้อ 6. เทคนิคการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ 7. การจัดการขยะติดเชื้อหลังการปฏิบัติงาน 8. ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา |
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม |
|
คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการเรียน |
|
Plugin | Windows Media Player 10 หรือสูงกว่า |
Smart Phone หรือ Tablet ที่เหมาะสมในการเรียน |
Android 4.0 ขึ้นไป เปิดด้วย Firefox
iOS 6 ขึ้นไป เปิดด้วย SafariWindows Phone 8 ขึ้นไป เปิดด้วย IE |
เงื่อนไขในการเรียน |
ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนจะถือว่ายอมรับเงื่อนไขตามที่กำหนดของแต่ละหลักสูตร
|
เทคนิคพื้นฐานสำหรับนักจุลชีววิทยา
การประยุกต์ใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยามีความสําคัญยิ่งสําหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม ผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาจําเป็นต้องมีความรู้เข้าใจเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน หากผู้ปฏิบัติงานมีความรู้พื้นฐานสาขาที่ไม่ดีพอ จะทําให้เกิดการวินิจฉัยผลการทดลองที่ไม่/ถูกต้อง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก การปฏิบัติงานการวิเคราะห์ทดสอบด้านจุลชีววิทยาในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งมีการฝึกฝนเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา แล้วบุคคลเหล่านี้ย่อมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม
การเก็บรักษาเชื้อจุลินทรย์อ้างอิง และการใช้ในงานทดสอบทางจุลชีววิทยาอาหาร | |
---|---|
รายละเอียดหลักสูตร | การทดสอบหาจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่งในตัวอย่าง จำเป็นจะต้องมีเชื้ออ้างอิง เพื่อยืนยันผลการทดสอบ รวมทั้งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เป็นเชื้ออ้างอิง หากมีการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้คุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดการตายของเชื้ออ้างอิงได้ ดังนั้นการเลือกวิธีการเก็บรักษา การเลือกอาหารเลี้ยงเชื้อ และสภาวะที่ใช้ในการเก็บรักษาที่เหมาะสม จะทำให้สามารถเก็บรักษาจุลินทรีย์อ้างอิงและสามารถควบคุมคุณสมบัติต่างๆ ของจุลินทรีย์ได้นาน |
ระยะเวลาในการเรียน |
90 วัน |
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ |
|
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย |
|
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม |
นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาทั้งภาครัฐและเอกชนควรมีคุณวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรี หรือมีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปีสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ควรเข้ารับการฝึกอบรม |
คอมพิวเตอร์ หรือ Smart Phone หรือ Tablet ที่เหมาะสมในการเรียน |
|
เงื่อนไขในการเรียน |
ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนจะถือว่ายอมรับเงื่อนไขตามที่กำหนดของแต่ละหลักสูตร
|
การเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง และการใช้ในงานทดสอบทางจุลชีววิทยาอาหาร
การทดสอบหาจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่งในตัวอย่าง จำเป็นจะต้องมีเชื้ออ้างอิง เพื่อยืนยันผลการทดสอบ รวมทั้งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับห้องปฏิบัติการ จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เป็นเชื้ออ้างอิง หากมีการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้คุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดการตายของเชื้ออ้างอิงได้ ดังนั้นการเลือกวิธีการเก็บรักษา การเลือกอาหารเลี้ยงเชื้อ และสภาวะที่ใช้ในการเก็บรักษาที่เหมาะสม จะทำให้สามารถเก็บรักษาจุลินทรีย์อ้างอิงและสามารถควบคุมคุณสมบัติต่างๆ ของจุลินทรีย์ได้นาน
คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม